วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML

โดย Sorasak Sattayanuwat
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
HTML ย่อมาจากคำว่า "HyperText Markup Language" เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่แสดงผลในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด กล่าวคือ จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปแบบของเอกสารข้อความ จึงสามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย

การสร้างเว็บเพจ

เราสามารถสร้างเว็บเพจได้ 2 ทาง คือ
  1. TextEditor โดยเราต้องรู้คำสั่งของภาษา HTML แล้วพิมพ์โปรแกรมเข้าไปทางTextEditor เช่น Notepad เป็นต้น
  2. ตัวช่วยสร้าง โดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจโดยเราไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการแปลงให้เราอัตโนมัติ

ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ

  1. เปิดโปรแกรม TextEditor แล้วทำการพิมพ์คำสั่ง HTML แล้วเซฟเป็นไฟล์นามสกุล .htm หรือ .html
  2. เปิดโปรแกรม WebBrowser เพื่อใช้ในการดูผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนภาษา HTML จากที่ได้เขียนจาก TextEditor

โครงสร้างภาษา HTML

การเขียนภาษา HTML นั้นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่ง ส่วนที่เป็นคำสั่งนั้นจะอยู่ในรูปของ Tag ซึ่งจะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย มากกว่า และ น้อยกว่า < > แต่ละ Tag มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป
Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. แท็กเดี่ยว คือ คำสั่งที่มีคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถใช้และสิ้นสุดคำสั่งได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น
    ข้อความ.... <br>
    <hr>
    <! - ข้อความ - >


  1. แท็กคู่ คือ คำสั่งที่ต้องมีส่วนเริ่มต้นและส่วนจุดจบของคำสั่งนั้นๆ โดยแท็กที่เป็นส่วนจบนั้นจะมีเครื่องหมาย slash / ติดเอาไว้ เช่น
    <html> ส่วนของเนื้อหา ..... </html>
    <center> ข้อความ..... </center>
    <p> ข้อความ.... </p>

*** ถ้าหากมีการใช้แท็กคู่หลายๆ คำสั่ง เช่น คำสั่งตัวขีดเส้นใต้ <U> .... </U> และตามด้วย คำสั่ง ตัวเอียง <I>....</I> จะต้องปิดคำสั่งตัวเอียงก่อน แล้วจึงจะมาปิดคำสั่งตัวหนา***
<I> U> ข้อความ.... </U> </I>
การจัดวางที่เห็นเป็นการจัดวางแบบมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน ซึ่งเวลาเริ่มเขียนภาษาHTML ควรเริ่มจากตรงนี้ก่อนทุกครั้ง
format.jpg (25175 bytes)
  • คำสั่งหลัก <HTML> .... </HTML> เป็นคำสั่งที่ไว้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของเอกสาร
  • คำสั่งหลัก <HEAD> .... </HEAD> เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่กำหนดส่วนหัวเรื่อง โดยภายในคำสั่งนี้จะประกอบไปด้วย
    • คำสั่งหลัก <TITLE> .... </TITLE> เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่ต้องการให้ขึ้นอยู่ในส่วนของ Title Bar โดยสามารถพิมพ์ได้ยาว 64 ตัวอักษร
  • คำสั่งหลัก <BODY> .... </BODY> เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของเอกสารทั้งหมด ว่าจะให้มีลักษณะอย่างไร

ตัวอย่าง


การกำหนดหัวข้อ (Heading)
คำอธิบาย
ใช้ในการกำหนดขนาดให้กับข้อความที่เป็นหัวข้อเรื่อง ในเอกสารที่มีหัวข้อเป็นปลีกย่อย สามารถแยกเป็นลำดับของหัวเรื่องได้อย่างชัดเจน
รูปแบบ
<hx> ..... </hx>
ตัวอย่าง
<html> <head>
<title> Education Technology </title>
</head>
<body>
<h1>Test Heading if x=1</h1>
<h2>Test Heading if x=2 </h2>
<h3> Test Heading if x=3 </h3>
<h4> Test heading if x=4 </h4>
<h5> Test heading if x=5 </h5>
<h6> Test heading if x=6 </h6>
</body>
</html>
   

การกำหนดจุดสิ้นสุดบรรทัด (Break Rule)
คำอธิบาย
ใช้ในการกำหนดจุดสิ้นสุดบรรทัด และขึ้นบรรทัดใหม่ คำสั่งนี้เหมือนการกด Enter บน keyboard นั่นเอง
รูปแบบ
..... <br>
ตัวอย่าง
<html> <head>
<title> Break Rule Tag </title>
</head>
<body>
Test Normal Message
Test Normal Message
Test Break Rule Tag <br>
Test Break Rule Tag <br>
</body>
</html>
   

การขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraph)
คำอธิบาย
ใช้แสดงข้อความในลักษณะพารากราฟ หรือย่อหน้าในเว็บเพจ และยังสามารถใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่ครั้งละ 2 บรรทัด
รูปแบบ
<p> ... </p>
<p align="left/center/right"> ... </p>
ตัวอย่าง
<html> <head>
<title> Paragraph Tag </title>
</head>
<body>
<p> Test Normal Paragraph Tag
<p align="right"> Test Righ Paragraph Tag
<p align="center"> Test Center Paragraph Tag
<p align="left"> Test Left Paragraph Tag
</body>
</html>
   

แสดงข้อความแบบจัดกึ่งกลาง (Center)
คำอธิบาย
ใช้แสดงข้อความหรือรูปภาพใช้จัดกึ่งกลางเว็บเพจ
รูปแบบ
<center> ... </center>
ตัวอย่าง
<html> <head>
<title> Paragraph Tag </title>
</head>
<body>
Test Normal Message
<center> Test Center Message </center>
</body>
</html>
   

การแสดงเส้นคั่นทางแนวนอน (Horizontal Rule)
คำอธิบาย
ใช้แสดงเส้นคั่นแนวนอน โดยใช้ในการแบ่งเนื้อหาหรือคั่นเพื่อความสวยงามและความเป็นระเบียบของเนื้อหา
รูปแบบ
<hr>
<hr align="left/center/right"> กำหนดตำแหน่งเส้น
<hr width="pixels or %"> กำหนดความยาวเส้น
<hr size="pixels"> กำหนดขนาดเส้น
<hr noshade> กำหนดลักษณะเส้น
ตัวอย่าง
<html> <head>
<title> Horizontal Rule Tag </title>
</head>
<body>
<hr>
<hr width="100%">
<hr width="50%">
<hr width="200">
<hr size="3">
<hr size="7">
<hr align="right">
<hr align="center" width="75% size="3">
<hr noshade>
</body>
</html>
   

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มาลองทำโครงการง่ายๆเองดีกว่า
                บทความฉบับนี้ ศณีรา ขอนำแนวทางจัดทำโครงการง่ายๆที่ผู้อ่านได้ร้องขอมา เนื่องจากเป็นอุปสรรคเหลือเกิน สำหรับองค์กรภาคเอกชนและนักการเมืองท้องถิ่นในการของบประมาณหรือขออนุมัติโครงการฯต่อหน่วยงานทางราชการ มันเหมือนเส้นผมบังภูเขาทำให้การพัฒนาภาคประชาชนดูจะอ่อนแรงไป ซึ่งศณีราจึงนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ประดับภูมิไว้ดังนี้
                                                         แผนงาน/โครงการ……..

1.ชื่อแผนงาน/โครงการ…(สะท้อนให้ปัญหาหรือความต้องการ)…………………...
   - สถานที่ดำเนินการ…… หมู่ที่ ……..บ้าน…….  ตำบล……… อำเภอ…….. จังหวัด…..…….
   - หน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบ………………
   - ภายใต้ยุทธศาสตร์.................(ของ จังหวัด............อำเภอ............ อปท..............)
2. หลักการและเหตุผล
    2.1 ความเป็นมา/สภาพปัญหา/ความต้องการ
    2.2 ความเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข (มากแค่ไหน,ถ้าไม่แก้จะเกิดปัญหาอะไรขึ้น)
    2.3 สาเหตุของปัญหา (เพื่อไปกำหนดเป้าหมาย)
3.  วัตถุประสงค์โครงการ
         สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น ( ต้องรับกับปัญหา/ความต้องการ (เป็นนามธรรม โดยใช้คำว่าเพื่อ
         นำหน้า + กิริยา  (พัฒนา/ส่งเสริม/เสริมสร้าง)สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น+กลุ่มเป้าหมาย))
4.     เป้าหมายโครงการ
        วัดได้,เป็นรูปธรรม,บอกเป็นจำนวนตัวเลข (สอดรับกับสาเหตุของปัญหา)
         ( - ) สาเหตุของปัญหา                               เป้าหมาย (+ )
         เช่น เพื่อจัดหาเงินทุน ให้กับเกษตรกร จำนวน 100 ทุน ภายใน 3 ปี
         วิธีเขียน (รูปธรรม)เป็นจริงได้ เฉพาะเจาะจง
         เพื่อ + คำกิริยา +สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น(จำนวนปริมาณ)+กลุ่มเป้าหมาย+ระยะเวลางบประมารที่ใช้
5. วิธีดำเนินการ
     5.1 ขั้นเตรียมการ (ก่อนลงมือทำ)
     5.2 ขั้นดำเนินการ
     5.3 ขั้นประเมินผล
6.  ระยะเวลา
     วัน/เดือน/ปี –วันเดือนปี เป็นเวลา……..วัน หรืออาจแสดงเป็นปฏิทิน
7. ทรัพยากรที่ใช้
    7.1 งบประมาณ  โดยบอกแหล่งที่มาของงบประมาณ โดยมีรายละเอียดแนบท้ายโครงการ
    7.2 วัสดุอุปกรณ์ มีรายละเอียดแนบท้ายโครงการฯ
    7.3 อัตรากำลัง


8. สถานที่ดำเนินการ
        เลขที่………หมู่ที่………….ตำบล………….อำเภอ………….จังหวัด……………
        อาจมีแผนที่แสดง แนบท้ายโครงการ
9. ผู้รับผิดชอบ
                    นาย ก.     ประธานชมรม………..
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลข้างเคียง
    10.1 ทางบวก(ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ)
    10.2 ทางลบ (เขียนในกรณีเป็นโครงการที่มีผลกระทบในวงกว้าง)
11. การควบคุม/ติดตาม/ประเมินผล(ตัวชี้วัด)
      ตัวชี้วัดควรสอดคล้องกับเป้าหมาย/บอกวิธีการติดตามประเมินผล
12.  ผู้เสนอโครงการ /แผน (ประธานองค์กร/เจ้าของโครงการฯ)
13. ผู้ตรวจสอบโครงการ (เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านแผนฯ/งบประมาณในอปท./หน่วยงานของรัฐ)
14. ผู้เห็นชอบโครงการ/แผน (ปลัด อปท. กรณี ของบฯ อปท./นายอำเภอกรณีของบฯของจังหวัด)
15. ผู้อนุมัติโครงการ/แผน (เจ้าของงบประมาณฯเช่นนายก อปท./นายอำเภอฯ / ผู้ว่าฯ)

หมายเหตุ อาจเปลี่ยนได้ตามความต้องการของเจ้าของงบประมาณ เช่น อาจให้ระบุว่าสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ หรือนโยบาย ของรัฐ ,จังหวัด หรือหน่วยงานในด้านใด
             ทั้งนี้การจัดทำงบประมาณนั้นในทางปฎิบัติ อาจจะสลับข้อกันไปมา อันนี้อันนั้นขึ้นก่อนหน้าหลัง แต่ก็ไม่พ้นแนวทางนี้ทั้งนั้น ลองเขียนกันดู แล้วลองของบประมาณหน่วยงานที่ท่านรุ้ว่ามีอำนาจหน้าที่และมีงบประมาณเพื่อการนั้น แล้วอย่าลืมที่สำคัญ คือที่มาของโครงการฯ เพราะไม่ว่าจะเป้นดครงการไหนๆก็แล้วแต่ จะต้องมีองค์กรรองรับ เช่น ชมรม/กลุ่มเยาวชน.....,ชมรม/กลุ่มสตรี...........,ชมรม/กลุ่มเกษตรกรผลิต............เป็นต้น แล้วแนบรายชื่อ บันทึกการประชุม ระเบียบการจัดการกลุ่มไปด้วยยิ่งดี จะได้แสดงให้เขาเห็นว่า โครงการฯที่จัดทำไม่ได้ทำโดยคนๆเดียว สนองปัญหาส่วนตัว และเมื่อได้การส่งโครงการไปแล้วนั้น ก็อย่างหวังว่าส่งปุ๊บจะได้ปั๊บ ต้องรอเขาจะอนุมัติเข้าแผนพัฒนาฯหรือข้อบัญญัติงบประมาณฯ ก่อน ยกเว้นเขามีงบประมาณเพื่อการนั้นหรือมียุทธศาสตร์ตรงกันแล้ว จึงจะได้รับการอนุมัติโครงการฯหรืองบประมาณฯ และถ้าจะให้แน่นอน ก็ส่งโครงการฯผ่านการประชุมประชาคม ในระหว่างที่องค์กรหรือหน่วยงานนั้นเริ่มจัดทำแผนพัฒนาฯรับรองหากโครงการฯที่ส่งไปนั้น ตอบสนองยุทธศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาส่วนรวม ตอบสนองความต้องการส่วนรวมและไม่ขัดต่อกฎระเบียบ กฎหมายทางราชการ หน่วยงานมีงบประมาณเพียงพอหรือผู้บริหารหน่วยงานนั้นใจแคบ... รับรองโครงการฯได้รับการอนุมัติงบประมาณแน่นอน...ซิบอกให้
 ชั่วโมงท้องถิ่น  ฉบับ 9 (16-31

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การสร้างบทความ (Post)

ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ

การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนของ "เขียน"
    ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
  2. ส่วนของ "HTML"
  3. ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ

เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ

Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ

  1. แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
  2. ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
  3. ตัวหนา
  4. ตัวเอียง
  5. สีของตัวอักษร
  6. ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
  7. ทำบทความให้ชิดซ้าย
  8. ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
  9. ทำบทความให้ชิดขวา
  10. ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
  11. ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
  12. ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
  13. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
  14. เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
  15. เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพครับ
  16. ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
  17. แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
  18. หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
  19. แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
  20. การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
  21. ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
  22. บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ"
การเขียนบทความที่ดี
  • เขียนสั้นๆได้ใจความ
  • อย่าทำให้ผู้อ่านลายตา
  • ใช้ประโยคเป็นกันเอง เหมือนเล่าเรื่อง (แล้วแต่เนื้อหาบทความ)
  • ชื่อเรื่องน่าอ่าน
  • มีสไตล์เป็นของตัวเอง
  • ทบทวนเรื่องราว เช่นเขียนดูไหม อ่านแล้วเป็นยังไง สะกดผิด เขียนผิดหรือปล่าว

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555



อะไรคือ Visual Basic?
        Visual Basic เป็นภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ บรรจุอยู่ภายใต้ผลิตภัณฑ์ชุดหนึ่งชื่อว่า Microsoft Visual Studio
เรานิยมเรียกย่อๆ ว่า VB ภายในชุดของเจ้า Microsoft Visual Studio นี้ ประกอบไปด้วยภาษาต่างๆ หลายภาษา แยกแยะกันไปตามความสามารถและความถนัด
ของมัน ได้แก่
                1.Visual Basic
                2.Visual C++
                3.Visual FoxPro
                4.Visual InterDev
                5.Visual J++
                6.Visual SourceSafe
       วัตถุประสงค์ ก็คือ ต้องการให้เป็นภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่น ที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows และ Windows NT
การใช้งาน Visual Basic นั้นค่อนข้างง่าย โปรแกรมเมอร์สามารถวาดและวางองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าจอเพื่อติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)ได้ตามต้องการ
 เมื่อวาดหน้าจอได้เสร็จก็เขียนโปรแกรมซึ่งเป็นลักษณะแบบมีโครงสร้างทางภาษาคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
 แต่ละตัวบนหน้าจอเข้าด้วยกัน ให้ทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ตามที่โปรแกรมเมอร์ต้องการ ตามหลักการของ Object-Oriented นั่นเอง
        Microsoft Visual Studio ได้พัฒนามาถึง Visual Studio98 แล้ว และ VB ที่บรรจุอยู่จะเป็น Version 6.0 ซึ่งไมโครซอฟท์พูดได้เต็มปากว่า VB6.0 นี้
เป็น Object-Oriented ขนานแท้ (เพราะ VB5.0 ยังจัดเป็นกึ่ง Object-Oriented อยู่) แม้ว่าปัจจุบันจะมีข่าวคราวของ VB7.0 แพลมออกมาบ้างก็ตาม
 ตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่ไมโครซอฟท์ก็ยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ อาจเป็นเหตุผลทางการค้าและการตลาดก็เป็นได้
* Object-Oriented พูดกันง่ายๆ คือ การมององค์ประกอบต่างๆ ทุกๆ องค์ประกอบในตัวโปรแกรมเป็นเพียงวัตถุ วัตถุหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติแต่ละตัวแตกต่างกันไป

อย่างนี้… ใครควรเรียนรู้ VB บ้าง?
        ก็ผู้ที่สนใจทั่วๆ ไป ผู้ที่มีความต้องการที่จะเขียนโปรแกรมบน Windows นักเรียน นักศึกษา ขอให้มีพื้นฐานทางด้านการใช้ Windows และการเขียนโปรแกรมมาบ้าง พอสมควร   แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนก็สามารถทำความเข้าใจได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการศึกษาหาความรู้พื้นฐานต่างๆ การขยันอ่านหนังสือ
เพื่อทำความเข้าใจให้มากๆ เพราะว่าปัจจุบันนี้ อาชีพโปรแกรมเมอร์ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในวงการของผู้ที่จบคอมพิวเตอร์สายตรงแต่เพียงอย่างเดียว   มีหลายคนที่จบมา
ทางแพทย์ วิศวะ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ เป็นจำนวนมากที่เขียนโปรแกรมกันได้เก่งๆ ฝีมือระดับโปร บุคคลเหล่านี้อาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนกันทั้งนั้น
 เพราะว่าพวกเขารักและมีความมานะพยายามตั้งใจจริงกับมัน
แล้วอ่านเอง ศึกษาเอง ได้หรือเปล่า?
        ตอบว่าได้ คุณก็หาตำหรับตำราที่ดีหน่อยหลายๆ เล่ม หาเวลาบังคับตัวเองให้หมั่นศึกษาหน่อย ก็ได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าการเข้าอบรมนั้นจะทำให้คุณไปได้เร็วขึ้น มีเพื่อนร่วมวงการมากขึ้น เป็นพื้นฐานให้ไปศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป ไม่ว่าจะศึกษาเอง หรือว่าไปอบรมในขั้นที่สูงกว่าก็ตาม ยุคนี้ ไม่มีแล้วที่จะเป็นพระเอกประเภท
One man show  ไม่มีใครรู้ไปซะทุกเรื่องหรอกน่า คุณว่าจริงมั๊ย?   ทุกวันนี้เขาทำงานกันเป็นทีม (ขนาดเป็นทีมเนี่ย! ยังไม่ค่อยจะรอดกันเลย…) แน่ล่ะ!
มันมีเรื่องที่เราไม่รู้ แต่เพื่อนรู้ มันมีเรื่องที่เรารู้ แต่เพื่อนไม่รู้ การเข้าอบรมเป็นการเพิ่มโลกทัศน์ให้ตัวเอง ให้กว้างขวางกว่าเดิม(จากที่กว้างขวางอยู่แล้ว)
 เพิ่มเพื่อนไว้แบ่งปันความรู้กัน ไว้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นการบังคับตัวเองให้ใส่ใจในการเรียนรู้ …
        อย่างไรก็ตาม การเข้าอบรมก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คุณกลายเป็นคนเก่งขึ้นมาได้ในพริบตา หรือในระยะเวลาอันสั้นหลังจบคอร์สหรอกนะ คุณต้องฝึกฝน
 เอาจริงเอาจัง และลุยต่อไป มันเป็นเพียงบันไดก้าวหนึ่งเท่านั้น

ค่าอบรม กับ สิ่งที่ได้รับ คุ้มมั๊ย?
        ของดีราคาถูก ไม่มีหรอกครับ แล้วก็จะให้ดีถูกใจไปทุกอย่างก็หามิได้อีกเช่นกัน ถ้าถามผมว่าเข้าอบรมจะคุ้มมั้ย? ผมก็บอกว่าคุ้มครับ คุ้มค่าเงินที่จะจ่ายเพื่อแลกกับความรู้ แลกกับการรู้จักเพื่อน แลกกับโอกาสในอนาคต หากว่าจะเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ ที่มีการเปิดอบรมเหมือนกัน ราคาที่ผมตั้งไว้นี้ ผมว่าไม่แพงนะ ก็อยู่ประมาณกลางๆ
แต่ก็ไม่ถูกขนาดติดดิน (บอกแล้วไง ของดีราคาถูกนั้นไม่มี) เนื่องจากผมต้องมีค่าใช้จ่ายสูง เราไม่ได้มีสถานที่เป็นของตัวเอง ต้องเช่า ต้องจ้างคน จะกดราคาให้ต่ำ
เหลือคอร์สละ 1200, 1500 ก็ต้องมีคนอบรมซัก 2-300 ร้อยคนแหละครับ ถึงอยู่ได้ พูดกันตรงๆ ครับว่าผมเสี่ยงดวงเอา ก็ขอความกรุณากันหน่อยครับ
  • Introduction          เต็ม 2,550   มัดจำ   500
  • Database             เต็ม 3,550   มัดจำ   500
  • Special Project   เต็ม 7,550   มัดจำ 1000
        เนี่ย ผมลดราคาได้เต็มที่แล้ว   จริงๆ กิจกรรมนี้เสี่ยงพอตัวเลย ก็ท่านอาจารย์ที่รู้จัก ที่เคารพ อีกทั้งเพื่อนๆ กับน้องๆ เขาอยากให้ลองทำดู ลองเปิดสอนถ่ายทอด
ความรู้ ให้กันดูบ้าง (สงสัยมาถามบ่อยๆ เลยเกรงใจ.. ฮ่าๆๆ) ผมก็บ้ายุครับ เลยทำซะจริงๆ ! เรียกว่า ถ้าคราวนี้ผมคำนวณเงินพลั้งพลาดอะไรไป คงต้องให้เพื่อเป็น
วิทยาทานแล้วล่ะครับ… (แล้วค่อยหาเงินใช้หนี้ทีหลัง..)

ทำไมต้อง VB …
        ผมเป็นโปรแกรมเมอร์อิสระมาก็นานพอสมควร ตั้งแต่สมัยเรียน ไปเป็นอาจารย์พิเศษบ้าง ที่ปรึกษาตามบริษัทต่างๆ บ้าง ยุคแรกๆ ก็ใช้พวก For DOS ได้แก่PASCAL, FORTRAN, TURBO C++, ASSEMBLY, CLIPPER , ตระกูล FOX ทั้งหลายแหล่ ผมก็ใช้มันไปเรื่อยน่ะครับ ไม่ได้มีอะไรยึดติดไว้
เป็นภาษาหลักตายตัว แล้วแต่ความเหมาะสมกับงาน (เดี๋ยวนี้ลืมหมดแล้ว…ไม่ได้ใช้นาน) มาหลังๆ นี่ชักไม่ไหว ไมโครซอฟท์เริ่มตีตลาดหนัก ผมก็เลยกะว่าจะยึดไว้หากิน
เป็นเรื่องเป็นราวซักภาษานึง มองไปมองมาหันมาเอา VB นี่ล่ะครับ   ก็คิดว่ามันเป็นของไมโครซอฟท์ ตัว Windows เองก็เป็นระบบปฏิบัติการ (OS) ของไมโครซอฟท์
มันน่าจะเข้ากันได้ดี อีกอย่างประเทศเราก็แทบจะเป็นทาสไมโครซอฟท์อยู่แล้ว ที่ไหนๆ ก็ใช้ Windows บริษัทต่างๆ คงจะใช้ VB กันมาก เราก็มีโอกาสที่ไม่น่าจะตกงาน
(นี่คิดเอาเองนะ ตามประสาคนโง่..) ผมก็เลยไม่เลือก Delphi ของค่าย Borland แต่เพื่อนผมคนหนึ่งเลือก Delphi เพราะว่าเขาใช้ PASCAL เป็นภาษาหลักมาก่อน
(Delphi ใช้ Source code คล้าย PASCAL) บอกได้เลยว่าคนนี้เป็นสุดยอด Delphi ประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เลยล่ะ ขออนุญาติเอ่ยนามหน่อย
ชื่อคุณจิรายุ แห่ง Software Mission ครับ
        จะเห็นแล้วใช่มั๊ยครับว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น VB เท่านั้น ภาษาอะไรก็ได้ที่คุณถนัด หรือชอบ แต่ถ้าเริ่มศึกษา VB จะง่ายกว่าภาษาอื่นก็ตรงที่มันคล้ายภาษาอังกฤษ
ธรรมดาที่เราใช้อยู่นั่นแหละครับ ต่างกันไม่มาก (Source code เป็นภาษา Basic) เลยทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วนั่นเอง

อยากรู้จักทีมงาน…
        แหม! มีคนมาตั้งคำถามครับว่าผมเป็นใคร มาจากไหน ทำนองว่าน่าเชื่อถือหรือเปล่า? ที่สำคัญ เก่งมั๊ย? สอนได้จริงเหรอ? ก็แล้วแต่จะคิดครับ ที่เขาลือกัน มันก็ข่าวลือ อย่าไปยึดติดกับมัน ผมไม่เก่งหรอก มีคนเก่งกว่าผมเยอะแยะไปครับ มันเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ฮ่าๆๆ ผมก็ไม่ได้มี Certificate จากไมโครซอฟท์ด้วย ไม่ได้สอบกับเขา 
ถึงสอบก็ไม่รู้จะได้หรือเปล่า? ฮ่าๆๆ   ผมจบจากรามคำแหง ทีมงานโดยมากก็จบจากรามคำแหงครับ ซ่อมเครื่อง เขียนโปรแกรมกันมานานพอตัว ก็รวมตัวตั้งทีมกันขึ้นมา
ใช้ชื่อว่า  "P&B Software"  รับเขียนโปรแกรมบ้าง เป็นที่ปรึกษาบ้าง โดยมากพวกเรารับงานอิสระทั่วๆ ไปครับ ที่งานไม่ใหญ่มาก พอทำไหว งานไหนทำไม่ได้ หรือ 
เวลาไม่พอ ไม่อำนวยก็ไม่รับ เพราะถ้ารับแล้วทำไม่ได้ ก็เสียชื่อทีมหมด เวลามันเสียเนี่ย มันเสียกันทั้งหมดเลย เอาเป็นว่าถ้าคุณเป็นนักศึกษารามคำแหง คงคุ้นหน้าคุ้นตา
รุ่นพี่ๆ กันบ้างล่ะ ไว้ตอนคุณเข้าอบรม คุณจะเห็นเองก็แล้วกัน… ขออุบไว้ก่อนนะ
        แต่ที่แน่ๆ พวกเราน่ะเต็มที่ คุณก็ต้องช่วยตัวเองด้วยเช่นกัน เปิดอบรมคราวนี้  เราไม่แค่อยากให้คุณ แค่ทำได้   แต่เราอยากให้คุณนั้น "
อ้างอิงโดย:
http://www.oocities.org/vb_training/whatis.html

Chapter 2 Working with Visual Basic
การใช้งาน Visual Basic

     ในบทที่ 1 ผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้งาน VBIDE ขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานโปรแกรม VB มาก่อนเลย สำหรับในหัวข้อนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบ และแนวทางในการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB เป็นที่ทราบดีว่า concept หลักของการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB ก็คือ การสร้างองค์ประกอบต่างๆ ของแอพพลิเคชันด้วยคอนโทรล โดยมีรูปแบบที่สื่อด้วยภาพ หรือที่เรียกกันติดปากว่า การออกแบบอินเตอร์เฟส ต่อมาก็คือ การเขียนโค้ดเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB ผู้เขียนจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
note.gif (1525 bytes)1.เลือกพัฒนาชนิดของแอพพลิเคชัน
2.สร้างยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (หรือส่วนติดต่อกับผู้ใช้ อาจเรียกสั้นๆว่า อินเตอร์เฟส)
3.เขียนโค้ดเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์
4.การทดสอบ ตรวจสอบ และดักจับข้อผิดพลาด
5.compile โปรเจ็กต์ให้เป็นแอพพลิเคชันที่สมบูรณ์ (เช่น *.exe หรือ *.dll เป็นต้น)

     ทั้ง 5 ขั้นตอนถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการสร้างแอพพลิเคชันด้วย VB สิ่งที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ผลงานของคุณจะแสดงออกมา ได้รวดเร็วมาก โดยใช้งานคอนโทรลไม่กี่ตัว หัวข้อนี้จะเป็นแนวทางที่อธิบายรูปแบบการสร้างอินเตอร์เฟส เพราะไม่ว่าคุณจะพัฒนาแอพพลิเคชันชนิดใดๆ แอพพลิเคชันของคุณก็จะต้องมีมาตรฐานตามข้อกำหนดของแอพลิเคชัน ที่รันภายใต้ Windows 95 ที่ไมโครซอฟท์กำหนดไว้ เช่น สนับการทำงานแบบ 32 บิต, สนับสนุนการประมวลผลแบบ multitasking เป็นต้น ซึ่ง VB สนับสนุนอยู่แล้ว แต่รูปแบบอินเตอร์เฟสต่างหาก ที่คุณจะต้องสร้างสรรค์ออกมา ให้มีมาตรฐานเดียวกันกับแอพพลิเคชัน ที่ได้รับความนิยมในด้านนั้นๆ เช่น ถ้าคุณต้องการพัฒนาแอพพลิเคชันด้านฐานข้อมูล คุณจะต้องเชื่อมโยง เข้ากับชนิดของฐานข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น Access, Foxpro หรือ Oracle เป็นต้น สำหรับแนวทางที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ที่จะทำให้คุณสามารถ ออกแบบอินเตอร์เฟสที่เป็นมาตรฐานได้ก็คือ คุณสามารถศึกษารูปแบบและแนวทาง จากแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม ศึกษาข้อดี ข้อเสีย ของแอพพลิเคชันนั้นๆ   มันจะช่วยย่นระยะเวลาไปได้มากทีเดียว รวมถึงศึกษาจาก source code ที่มีเผยแพร่อยู่โดยทั่วไป ในอินเตอร์เน็ต

     สำหรับในบทนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงขั้นตอนการสร้างอินเตอร์เฟส และการเขียนโค้ดเท่านั้น ส่วนหัวข้อที่เหลือ ผู้เขียนจะกล่าวถึงในบทต่อๆไป

การใช้งานคอนโทรลในการสร้างอินเตอร์เฟส

     จุดเริ่มต้นของการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB ก็คือการนำคอนโทรลชนิดต่างๆ ที่ VB จัดเตรียมไว้นำมาวาดอินเตอร์เฟส แอพพลิเคชันของคุณจะมีหน้าตา เป็นอย่างไร ก็อยู่ในขั้นตอนนี้ ถ้าคุณเริ่มต้นพัฒนาแอพพลิเคชันได้ดี โดยการออกแบบอินเตอร์เฟสที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ มันจะส่งผลให้ระยะเวลา ในการพัฒนาแอพพลิเคชันหนึ่ง ลดลงไปได้มากทีเดียว เพราะสิ่งที่เหลืออยู่คือ การเขียนโค้ดเพื่อทำให้โปรเจ็กต์ของคุณทำงานให้สมบูรณ์มากที่สุด ผลงานของคุณก็จะออกมา เหมาะสมกับเวลาที่คุณต้องเสียไป :-)

     คอนโทรลแต่ละชนิดจะมีหน้าที่ หรือจุดประสงค์ในการนำไปใช้งานต่างกัน เช่น คอนโทรล CommandButton ใช้สร้างปุ่มกดเพื่อตอบรับ, คอนโทรล OptionButton ใช้สำหรับให้ผู้ใช้มีทางเลือก, คอนโทรล TextBox ใช้รับและแสดงขัอมูลที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้, คอนโทรล Label ใช้แสดงข้อมูล ที่ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขได้ เป็นต้น

vb1-6.jpg (12882 bytes)     สำหรับชื่อของคอนโทรลแต่ละตัว คุณสามารถเลื่อนเมาส์ไปบริเวณบนตัวคอนโทรลนั้นๆ แล้วจะมี ToolTip แสดงชื่อของคอนโทรลนั้นๆ ให้ผู้ใช้ทราบ คุณจะได้พบกับ ToolTip ในทุกๆ  แอพพลิเคชันที่รันอยู่ภายใต้ Windows 98/95 และ NT ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรฐานไปแล้ว และคุณก็สามารถทำให้แอพพลิเคชันของคุณมี ToolTip ได้ด้วย VB เช่นกัน



รูปที่ 2.1 แสดงกลุ่มคอนโทรลมาตรฐานของ VB
vb2-2.gif (4099 bytes)รูปที่ 2.2 แสดง ToolTip ชื่อของคอนโทรล

รูปแบบการปรากฎของคอนโทรลแต่ละชนิดบนฟอร์ม

     คอนโทรลแต่ละชนิดมีรูปแบบการปรากฎตัว มีความแตกต่างกัน คอนโทรลบางตัวเมื่อคุณนำมาใช้งานอาจจะไม่มีการปรากฎตัวขึ้นมา หรืออาจจะปรากฎขึ้นมาเลยก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละคอนโทรล สำหรับคอนโทรลที่คุณจะต้องใช้งานในทุกๆ แอพพลิเคชันจะมี เช่น CommandButton, TextBox, CheckBox, OptionButton, ScrollBar เป็นต้น คอนโทรลพวกนี้ถือได้ว่าเป็น คอนโทรลคลาสสิค หมายถึง เป็นคอนโทรลที่คุณพบเห็นได้ทั่วไป รูปแบบการปรากฎตัวของคอนโทรลสามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.ปรากฎตัวทันทีเมื่อคุณนำมาใช้งาน หมายถึง คุณสามารถเห็นได้ในขณะที่คุณออกแบบ ที่เรียกว่า design time ซึ่งคอนโทรลส่วนใหญ่ จะมีลักษณะเช่นนี้
2.ไม่ปรากฎตัวเมื่อคุณนำมาใช้งาน หมายถึง คอนโทรลประเภทที่คุณไม่สามารถมองเห็นการทำงานของตัวมันในขณะออกแบบได้ มันจะทำงานอยู่เบื้องหลัง แอพพลิเคชันของคุณ ซึ่งจะเป็นเวลาในช่วงของการรันแอพพลิเคชัน ที่เรียกว่า run time เช่น คอนโทรล Timer, CommonDialog เป็นต้น

vb2-3.jpg (14668 bytes)
รูปที่ 2.3 แสดงรูปแบบของคอนโทรลหลายๆชนิดบนฟอร์ม

แนวทางในการออกแบบอินเตอร์เฟสแรกของคุณ

     สำหรับการออกแบบอินเตอร์เฟสของคุณ VB อนุญาตให้คุณสามารถที่จะวาดคอนโทรลได้อย่างอิสระ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ณ ตำแหน่งใดก็ใด้ ที่อยู่ในบริเวณฟอร์ม คุณสามารถสร้างสรรค์ให้แอพพลิเคชันของคุณ มีหน้าตาเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ขอให้คุณยึดถือไว้ว่า อินเตอร์เฟสที่ออกมา จะต้องเป็นมิตรกับผู้ใช้ มีรูปแบบเดียวกับแอพพลิเคชันทั่วๆไป ไม่ทำให้ผู้ใช้สับสนกับแอพพลิเคชันของคุณ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณออกแบบอินเตอร์เฟสให้ผู้ใช้ ต้องตอบคำถามมากมาย กว่าจะได้เซฟงาน, มีตัวเลือกมากจนกระทั่ง ผู้ใช้ไม่รู้ว่าจะเลือกอะไรดี, จัดวาง Lay out ไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นกลุ่ม, ทำให้ผู้ใช้สับสนในการใช้งาน สิ่งเหล่านี้ถ้าเป็นคุณพบเจอเอง เชื่อได้ว่าคุณจะเกิดความรู้สึก ไม่อยากใช้งานแอพพลิเคชันนั้นอีกเลย
     แอพพลิเคชันทั่วๆไป คุณจะเห็นได้อย่างหนึ่งว่า จะพยายามเน้นที่การใช้งานง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เป็นอันดับแรก แต่ภาระต่างๆ จะอยู่ที่โปรแกรมเมอร์ต่างหาก :-)

     สิ่งที่จะสร้างแนวความคิดให้คุณออกแบบอินเตอร์เฟสได้อย่างรวดเร็วก็คือ การที่ตัวคุณเองจะต้องมีประสบการณ์ ในการใช้งานแอพพลิเคชันในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วตัวคุณเองจะได้ concept ในการสร้างแอพพลิเคชันได้อย่างไม่ยากเย็น ผู้เขียนมักจะใช้แอพพลิเคชันประเภท freeware หรือ shareware ต่างๆ เป็นแนวทางในการออกแบบอินเตอร์เฟส ในบางครั้งคุณอาจพบว่า แอพพลิเคชันประเภทนี้ ยังดีกว่าแอพพลิเคชันที่มีราคาสูงด้วยซ้ำ

     ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ในแอพพลิเคชันทั่วๆไป เช่น Word, Excel รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ของไมโครซอฟท์ จะมีส่วนอินเตอร์เฟสที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกันมาก ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคย สามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้ไม่ยากเย็นนัก อย่างน้อยที่สุด ทำให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกว่า ไม่ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ มีความสนใจอยากที่จะเรียนรู้ ใช้งานแอพพลิเคชันนั้นๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ จะต้องสื่อออกมา กับอินเตอร์เฟสให้ได้

     ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดในการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB นั่นก็คือ คุณสามารถใช้ระยะเวลาสั้นๆ ในการออกแบบอินเตอร์เฟส ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขอินเตอร์เฟส ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นการ programming  ในสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชันได้เป็นอย่างดี

vb2-4.jpg (14892 bytes)
รูปที่ 2.4 แสดงสภาพแวดล้อมของ Word 2000

vb2-5.jpg (25275 bytes)
รูปที่ 2.5 แสดงสภาพแวดล้อมของ Excel 2000

     สำหรับแอพพลิเคชันที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ ก็ยังคงมีอินเตอร์เฟสที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันในแง่ของหน้าที่การใช้งานเท่านั้น

vb2-6.jpg (16790 bytes)
รูปที่ 2.6 แสดงสภาพแวดล้อมของ Netscape Composer

     หรือแม้แต่ browser ยอดนิยมก็ยังคงมีอินเตอร์เฟสที่คล้ายคลึงกัน ทำให้คุณคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี

vb2-7.jpg (44249 bytes)
รูปที่ 2.7 แสดงสภาพแวดล้อม Interner Explorer 5.0

vb2-8.jpg (41569 bytes)
รูปที่ 2.8 แสดงสภาพแวดล้อม Netscape Communicator 4.61

     องค์ประกอบหลักๆ ของอินเตอร์เฟส จะประกอบไปด้วย เมนู, ToolBar, dialog box ชนิดต่างๆ เช่น เปิดไฟล์, เซฟไฟล์, พิมพ์งาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ VB เตรียมไว้ให้คุณแล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับคุณว่า จะนำไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพมากเพียงใด

vb2-9.jpg (25281 bytes)
รูปที่ 2.9 แสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์เซฟไฟล์ของ Excel 2000   และ Word 2000

       จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากใช้งานกลุ่มฟังก์ชัน Windows API ชุดเดียวกัน มีผลทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่า ไม่ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด และมีความรู้สึกต้องการใช้แอพพลิเคชันนั้นๆ ด้วย

vb2-10.jpg (27459 bytes)
รูปที่ 2-10 แสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Open File ของ Excel 2000 และ Word 2000

       ส่วนประกอบของอินเตอร์เฟส เกิดจากการใช้คอนโทรลชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น คอนโทรล CommandButton, Frame, CheckBox เป็นต้น แต่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องออกแบบอินเตอร์เฟสทุกอย่าง ในแอพพลิเคชันหนึ่งๆ VB ได้เตรียมกลุ่มฟังก์ชัน ที่ให้คุณเขียนโค้ดเพียงบรรทัดเดียว ก็สามารถเรียกใช้งานได้แล้ว เช่น message box ที่เตือนให้ผู้ใช้เซฟงาน ก่อนออกจากโปรแกรม, ไดอะล๊อกบ๊อกซ์เซฟไฟล์, เปิดไฟล์ เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายในบทต่อๆ ไป
vb2-11.jpg (16219 bytes)
รูปที่ 2.11 แสดง message box ที่เตือนใหัผู้ใช้เซฟงาน ใน VB คุณเขียนโค้ดเพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น

การนำคอนโทรลมาใช้งาน

     สำหรับวิธีการนำคอนโทรลมาใช้งาน วาดอินเตอร์เฟสบนฟอร์ม มี 2 วิธี คือ
1.คลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นๆ บน ToolBox แล้วนำไปวาดบนฟอร์ม   
               คุณสามารถกำหนดความกว้างและความยาวของคอนโทรลได้อย่างอิสระรวมถึงกำหนดตำแหน่งได้เช่นกัน VB จะแสดง ToolTip แสดงขนาดของคอนโทรล โห้อัตโนมัติ ส่วนตำแหน่งของคอนโทรลดูได้จาก บนToolBar โดยแสดงแบบพิกัด co-ordinate วัดจากมุมซ้ายบนของฟอร์มที่บรรจุอยู่ ถ้าคอนโทรลนั้นอยู่ในคอนโทรล Frame ก็จะวัดจากมุมซ้ายบนของคอนโทรล Frame แทน ดังรูป
vb2-12.gif (4463 bytes)
รูปที่ 2.12 แสดง ToolTip บอกขนาดของคอนโทรล

vb2-13.jpg (6489 bytes)
รูปที่ 2-13 แสดงขนาดของคอนโทรลบน Tool Bar

2.ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นเลย แล้ว VB จะนำคอนโทรลไปวางบนฟอร์มให้คุณโดยอัตโนมัติ ซึ่ง VB จะตั้งค่า default ไว้ให้คุณทั้งตำแหน่ง และขนาดของคอนโทรล แล้วคุณค่อยแก้ไนภายหลัง สำหรับคอนโทรล CommandButton คุณอาจใช้ขนาด default ที่ VB ตั้งมาไปใช้งานเลยก็ได้ เพราะมีขนาดเหมาะสมอยู่แล้ว
vb2-14.jpg (7939 bytes)
รูปที่ 2.14 แสดงคอนโทรล CommandButton แบบ default

     สำหรับการปรับขนาดของคอนโทรล ให้คุณคลิ๊กที่คอนโทรลนั้นๆ เพื่อให้อยู่ในสภาวะแอกทีฟ (active) แล้วจะมีปุ่มสี่เหลี่ยมทึบ 8 ปุ่มอยู่บนตัวคอนโทรล ให้คุณเลื่อนเมาส์ไปบริเวณปุ่มทึบ   (เคอร์เซอร์เปลี่ยนเป็นลูกศร 2 หัว) คุณก็สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ สำหรับการเลื่อนตำแหน่งของคอนโทรล คุณสามารถ drag เมาส์ บนคอนโทรลนั้นๆ แล้วย้ายไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการโด้โดยตรง ซึ่งก็จะเหมือนกับ การใช้งานแอพพลิเคชันทั่วๆไป

พื้นฐานการเขียนโค้ด

     สำหรับหัวข้อนี้จะเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการออกแบบอินเตอร์เฟส หลังจากที่คุณได้ออกแบบอินเตอร์เฟสเรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องเริ่มเขียนโค้ด สำหรับคอนโทรลแต่ละตัว เพราะเมื่อ คุณออกแบบอินเตอร์เฟสแล้ว มันยังไม่สามารถทำอะไรได้เลย ใน VB จะมี editor ไว้สำหรับให้คุณเขียนโค้ดโดยเฉพาะ เตรียมไว้ให้คุณแล้ว ดังรูป
vb2-15.gif (5670 bytes)
รูปที่ 2.15 แสดง editor ของ VB

มี 2 วิธีที่คุณสามารถเรียก editor ขึ้นมาใช้งานคือ
1.ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นๆ
2.คลิกที่คอนโทรลนั้น ให้อยู่ในสภาพแอกทีฟ (active) หรือได้รับความสนใจ (focus) แล้วกด F7

การใช้งาน editor

     เครื่องมือตัวนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากที่สุด อีกตัวหนึ่งในบรรดาเครื่องมือที่ VB มี เพราะใช้สำหรับเขียนโค้ด ให้แอพพลิเคชันของคุณทำงานได้ (ผู้เขียนจะใช้คำว่า editor จะหมายถึง editor ของ VB) เครื่องมือตัวนี้คุณต้องใช้งานมากที่สุด ในขบวนการพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย VB การศึกษาสภาพแวดล้อมของ editor จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนใดๆ ใน VBIDE การทำความรู้จัก รูปแบบการใช้งาน และความหมายของส่วนต่างๆของ editor จะช่วยลดระยะเวลาในการเขียนโค้ดได้อีกระดับหนึ่ง จากรูปที่ 2.15 สามารถแยกส่วนต่างๆ ของ editor ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1.ส่วน object list box มีหน้าที่แสดงชื่อคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ที่คุณนำมาใช้งาน เมื่อคุณเพิ่มคอนโทรลเข้ามาในฟอร์ม รายชื่อของคอนโทรล จะถูกเพิ่มเข้ามาโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณมีการเปลี่ยนแปลงชื่อของคอนโทรล (คุณสมบัติ Name) ชื่อที่ปรากฎอยู่ใน object list box ก็จะเปลี่ยนไปตามชื่อที่คุณตั้งไว้เช่นกัน
vb2-16.gif (13149 bytes)
รูปที่ 2.16 แสดงส่วน object list box และคอนโทรล CommandButton ชื่อปกติและ CommandButton ที่เปลี่ยนชื่อแล้ว

2.ส่วน event list box มีหน้าที่แสดงเหตุการณ์ (event) ของคอนโทรลที่ถูกเลือกใน object list box สนับสนุนอยู่ มันจะเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ เมื่อคุณเปลี่ยนชนิดของคอนโทรลใน object list box ทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา

vb2-17.gif (16322 bytes)
รูปที่ 2.17 แสดงส่วน event list box และรายการ events ที่คอนโทรล CommandButton สนับสนุน

3.ส่วนการเขียนโค้ด เมื่อคุณเลือกคอนโทรลใน object list box และเลือกเหตุการณ์ใน event list box แล้ว VB จะสร้างโพรซีเดอร์ (procedure) ว่างๆขึ้นมาให้คุณโดยอัตโนมัติ ดังรูป

vb2-18.gif (6675 bytes)
รูปที่ 2.18 แสดงโพรซีเดอร์เหตุการณ์ Click ของคอนโทรล CommandButton

     มาดูความหมายในแต่ละคำของโพรซีเดอร์ สำหรับพื้นที่ในการเขียนโค้ดจะอยู่ระหว่าง 2 บรรทัดดังกล่าว (ที่เคอร์เซอร์กระพริบอยู่)

Private เป็นคำสงวนที่กำหนดขอบเขตของโพรซีเดอร์
Sub เป็นคำสงวนที่บอกชนิดของโพรซีเดอร์ กรณีนี้เป็นแบบซับรูทีน (ในการใช้งานจริงจะมีรูปแบบของโพรซีเดอร์หลายชนิด เช่น โพรซีเดอร์ทั่วไป ฟังก์ชันที่คุณสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวถึงในบทต่อๆไป)
Command1 หมายถึงชื่อของอ๊อบเจ๊กต์ หรือคอนโทรล ถ้าคุณมีการเปลี่ยนชื่อ (คุณสมบัติ Name) ส่วนนี้จะเปลี่ยนไปเป็นชื่อเดียวกับชื่อที่คุณตั้งไว้
_ เครื่องหมายอันเดอร์สกอร์ ใช้แบ่งชื่อของคอนโทรลและเหตุการณ์ออกจากกัน
Click เหตุการณ์ประจำโพรซีเดอร์ หมายความว่าโพรซีเดอร์นี้จะทำงานเมื่อมีการคลิกปุ่มที่ชื่อว่า Command1 เท่านั้น
( ) ในวงเล็บ อาจจะมีรายการตัวแปรที่คุณจำเป็นต้องใช้ในโพรซีเดอร์นี้ ซึ่งเรียกว่า อาร์กิวเมนต์ (arguments) ซึ่งในการใช้งานจริง คุณจะได้พบอีกเช่นกัน :-)
End Sub จบโพรซีเดอร์

โพรซีเดอร์ประจำคอนโทรล

     เมื่อคุณนำคอนโทรลชนิดต่างๆ มาใช้งานแล้ว VB จะสร้างโพรซีเดอร์ว่างๆ พร้อมเหตุการณ์ประจำคอนโทรลนั้นๆ ขึ้นมาเสมอ โดยที่ VB จะคำนึงถึงหน้าที่ของแต่ละคอนโทรลเป็นหลัก แล้วสร้างโพรซีเดอร์เหตุการณ์ขี้นมาโดยอัตโนมัติ เช่น คอนโทรล CommandButton มีหน้าที่เป็นปุ่มให้ผู้ใช้คลิกตอบรับ (เหตุการณ์ Click) VB ก็จะสร้างโพรซีเดอร์ Private Sub Command1_Click( ), คอนโทรล TextBox มีหน้าที่รับหรือแสดงข้อมูล ที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ VB จะสร้างโพรซีเดอร์ Private Sub Text1_Change( ), ฟอร์ม เป็นตัวบรรจุคอนโทรลอื่นๆ และจะถูกโหลดเข้ามาในหน่วยความจำก่อนเสมอ VB จะสร้างโพรซีเดอร์ Private Sub Form_Load( ) เป็นต้น โพรซีเดอร์ต่างๆ ที่ VB สร้างขึ้นมา คุณไม่จำเป็นต้องใช้งานทั้งหมด หรือถ้าจะใช้ทั้งหมดก็ได้ คุณสามารถปล่อยให้เป็นโพรซีเดอร์ว่างๆ ได้ โดยไม่ปัญหาในการประมวลผลแต่อย่างใด

     แม้ว่า VB จะสร้างโพรซีเดอร์ประจำคอนโทรลให้คุณโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง โพรซีเดอร์เหล่านี้ ยังไม่สามารถรองรับการทำงาน ของแอพพลิเคชันหนึ่งๆ ได้ทั้งหมด คุณจะต้องเพิ่มเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องศึกษาต่อไปก็คือ จะมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่อาจเกิดขี้นกับคอนโทรล คอนโทรลแต่ละชนิดสนับสนุนเหตุการณ์อะไรบ้าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคอนโทรล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายแยกแต่ละคอนโทรลในบทต่อๆ ไป สำหรับวิธีการเพิ่มโพรซีเดอร์เหตุการณ์ของแต่ละคอนโทรล ดังนี้

1.ให้คุณเลื่อกชนิดของคอนโทรล หรืออ๊อบเจ็กต์ใน object list box
2.เลือกเหตุการณ์ใน event list box
3.VB จะสร้างโพรซีเดอร์ใหม่ที่ตรงกับเหตุการณ์ที่คุณเลือกไว้ กับคอนโทรลนั้นๆ

vb2-19.gif (12514 bytes)
รูปที่ 2.19 แสดงโพรซีเดอร์เหตุการณ์ LostFocus ของคอนโทรล CommandButton ที่ถูกเพิ่มเข้ามา

     และถ้าในกรณีที่คุณเลือกคอนโทรลเหมือนกัน เหตุการณ์เหมือนกัน ในฟอร์มเดียวกัน VB จะสร้างโพรซีเดอร์เหตุการณ์ ให้กับคอนโทรลทั้ง 2 ตัว เพราะ VB ถือว่าเป็นคนละอ๊อบเจ็กต์กัน เช่น ถ้าคุณใช้งานคอนโทรล CommandButton 2 ตัว ซึ่งมีเหตุการณ์คลิกเหมือนกัน จึงมีเหตุการณ์คลิ๊ก 2 โพรซีเดอร์ สำหรับคอนโทรล Command1 และ Command2 ผู้ใช้คลิกปุ่ม Command1 อาจจะออกจากโปรแกรม ผู้ใช้คลิ๊ก  Command2 อาจจะแสดงข้อความ Hello World ! ก็ได้

vb2-20.gif (6891 bytes)
รูปที่ 2.20 แสดงโพรซีเดอร์เหตุการณ์คลิกของคอนโทรล CommandButton 2 ตัว

     สำหรับในส่วน object list box จะมีรายการพิเศษที่เขียนว่า (General) และใน event list box จะเขียนว่า (declarations) จะเป็นพื้นที่พิเศษ ที่ใช้สำหรับประกาศ (declare) ตัวแปรต่างๆ, กลุ่มฟังก์ชัน Windows API เป็นต้น รายละเอียดผู้เขียนจะอธิบายอีกครั้งในบทที่ 3

โค้ดชุดแรกของคุณ

     หลังจากที่ VB ได้สร้างโพรซีเดอร์ต่างๆ ขึ้นมาประจำคอนโทรลแล้ว คุณจะต้องเริ่มเขียนโค้ดเพื่อที่จะทำให้แต่ละโพรซีเดอร์ทำงานได้ ซึ่งในแต่ละโพรซีเดอร์ จะรองรับเหตุการณ์เดียวเท่านั้น คุณจะต้องเขียนโค้ดให้แต่ละโพรซีเดอร์ทำงานครบ และเสร็จสิ้นภายในโพรซีเดอร์มันเอง   เช่น เมื่อผู้ใช้คลิ๊กปุ่ม OK แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง, เมื่อฟอร์มถูกโหลดเข้ามาจะมีอะไรบ้าง, เมื่อผู้ใช้ดับเบิลคลิ๊กที่ฟอร์ม จะเกิดอะไรขึ้น คุณก็ต้องเขียนโค้ดรองรับเหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมด เป็นต้น

     องค์ประกอบหลักของการเขียนโค้ดตอบรับ คือ คุณจะต้องเชื่อมโยงโพรซีเดอร์ต่างๆ ให้สามารถทำงานสอดคล้องกัน ไปตามการทำงาน ของแอพพลิเคชันนั้นๆ ให้ได้   ผู้เขียนจะยกตัวอย่างโพรซีเดอร์ที่คุณต้องใช้งานในทุกๆ แอพพลิเคชัน ก็คือ เมื่อผู้ใช้คลิกปุ่ม Command1 แล้วให้จบการทำงานของโปรแกรม

Private Sub Command1_Click()
   End
End Sub


     คำสงวน End เป็นการบอกให้รู้ว่า เมื่อผู้ใช้คลิ๊กปุ่ม Command1 แล้วให้จบการทำงาน ต่อไปผู้เขียนจะยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็น การเชื่อมโยง 2 โพรซีเดอร์เข้าด้วยกัน ให้วาดอินเตอร์เฟสดังรูป และเขียนโค้ดต่อไปนี้

vb2-21.gif (7024 bytes)
รูปที่ 2.21 แสดงอินเตอร์เฟสเพื่อสั่งให้คอนโทรล TextBox แสดงข้อความ hello world

Private Sub Command1_Click ( )
    Text1.Text = "hello world"
End Sub

Private Sub Command2_Click ( )
     Text2.Text = " "
End Sub


     ให้ทดลองรันโปรแกรมโดยการคลิ๊กปุ่ม vbrun.jpg (577 bytes) บน ToolBar หรือกดปุ่ม F5 แล้วลองคลิ๊กที่ปุ่ม Command1 และ Command2 ดูผลที่เกิดขึ้น เมื่อคุณคลิ๊กที่ปุ่ม Command1 จะมีข้อความ hello world ปรากฎในคอนโทรล TextBox และเมื่อคลิ๊กที่ปุ่ม Command2 ข้อความดังกล่าวจะหายไป

ทำความเข้าใจกับโค้ดชุดแรก

     มาลองดูความหมายของโค้ดที่คุณเขียนเข้าไป มีรายละเอียดดังนี้

Private Sub Command1_Click ( )
     หมายถึง โพรซีเดอร์นี้ทำงานเมื่อผู้ใช้คลิ๊กที่ปุ่ม Command1 เท่านั้น

Text1.Text = "hello world"
     หมายถึง สั่งให้คอนโทรล TextBox ที่ชื่อ Text1 แสดงข้อความ hello world ผ่านทางคุณสมบัติ Text เพราะว่าคุณสมบัติ Text นี้มีหน้าที่แสดงข้อความ ส่วนจุด . ใช้แยกชื่อคอนโทรลกับคุณสมบัติ (properties) หรือแยกชื่อคอนโทรลกับเมธอด (methods) กรณีนี้ Text เป็นคุณสมบัติของคอนโทรล TextBox

End Sub
     หมายถึง จบโพรซีเดอร์ Command1_Click ( )

Private Sub Command2_Click ( )
     หมายถึง โพรซีเดอร์นี้ทำงานเมื่อผู้ใช้คลิ๊กที่ปุ่ม Command2 เท่านั้น

Text1.Text = " "
     หมายถึง สั่งให้คอนโทรล TextBox ที่ชื่อ Text1 ไม่ต้องแสดงข้อความ เครื่องหมาย " " แทนข้อความว่างเปล่า

End Sub
     จบโพรซีเดอร์ Command2_Click ( )

หมายเหตุในการเขียนโค้ด (Comment)

     ในการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม คุณควรที่จะต้องเขียนหมายเหตุไว้ เพื่อบอกความหมายของโค้ดบรรทัดต่อไป อาจเขียนไว้เพื่อบอกว่า ตัวแปรนี้ใช้แทนอะไร ข้อความบอกจุดประสงค์ของโค้ดบรรทัดนั้นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ ในกรณีที่คุณต้องย้อนกลับมา ศึกษาโค้ดนี้อีกครั้ง รูปแบบการเขียนหมายเหตุก็คือ ควรจะเป็นข้อความสั้นๆ กระชับ แต่ได้ใจความ ที่บอกความหมายของโค้ดบรรทัดนั้น หรือบอกว่าตัวแปรนั้นแทนอะไร คุณไม่ควรใช้คำอธิบาย เพราะตัวหมายเหตุเอง จะทำให้คุณงงมากกว่าโด้ดเสียอีก ในกรณีที่คุณต้องเขียนโค้ดมากๆ   สำหรับการเขียนโค้ดที่มีการใช้งานตัวแปร ผู้เขียนจะกล่าวอีกครั้งในบทที่ 3

     วิธีการเขียนหมายเหตุใน VB คือ จะใช้เครื่องหมาย ' (apostrophe) หน้าบรรทัดที่คุณต้องการทำหมายเหตุ แล้ว editor จะเปลี่ยนบรรทัดนั้น เป็นสีเขียว และจะไม่สนใจบรรทัดดังกล่าว ในการประมวลผลทันที คุณอาจใช้หมายเหตุ เพื่อทดสอบที่ละโพรซีเดอร์ก็ได้ เช่น กรณีที่โพรซีเดอร์เกิด error บ่อยมาก :-( คุณก็หมายเหตุโพรซีเดอร์ ที่ error ไว้ก่อนก็ได้ คุณอาจใช้คำสงวน Rem มาจากคำว่า Remark แทนเครื่องหมาย ' ก็ได้ โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ จะใช้หมายเหตุ ุเพื่อบอกความหมายของโค้ดเป็นช่วงๆ เสมอ แต่ผู้เขียนจะหมายเหตุเกือบทุกบรรทัด เพราะผู้เขียนยังไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ :-)

คุณสมบัติและเมธอดของคอนโทรลคืออะไร

     สำหรับคอนโทรลและอ๊อบเจ็กต์ทุกชนิดใน VB จะมีคุณสมบัติและเมธอดประจำตัวของมันเอง ความหมายของทั้ง 2 อย่างมีดังนี้
คุณสมบัติ (properties) หมายถึง รูปร่าง ลักษณะ ความกว้าง ความยาว สี ฯลฯ ของตัวคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ ขอให้คุณมองคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ เป็นเสมือนวัตถุชิ้นหนึ่ง ที่มีความยาว ความกว้าง สีของตัวมันเอง คุณสามารถแก้ไขได้เหมือนดั่งเช่น คุณกำลังปรับแต่งวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่

     สำหรับในแต่ละคอนโทรล หรืออ๊อบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กันหน้าที่ของแต่ละคอนโทรล คอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์หนึ่งๆ จะมีคุณสมบัติมากมาย หลายอย่าง ยิ่งคุณสามารถปรับแต่งคุณสมบัติ ให้ตรงกับความต้องการของคุณ มากเพียงใด แอพพลิเคชันของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นได้ดี ในการพัฒนาแอพพลิเคชัน คุณสามารถปรับแต่ง คุณสมบัติได้จากหน้าต่าง Properties หรือปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ดก็ได้ จะมีคุณสมบัติบางตัว ที่ไมโครซอฟท์แนะนำให้ ปรับแต่งด้วยการเขียนโค้ด และบางตัวปรับแต่งด้วยการแก้ไขในหน้าต่าง Properties ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายอย่างละเอียดอีกครั้ง ในการใช้งานแต่ละคอนโทรล และในทางปฏิบัติ คุณไม่จำเป็นต้องปรับแต่งทุกๆ คุณสมบัติ เพราะ VB ได้ตั้งค่า default ไว้ให้คุณแล้ว ซึ่งก็สามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

เมธอด (methods) หมายถึง พฤติกรรมของคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการควบคุมการทำงานของคอนโทรล หรืออ๊อบเจ็กต์นั่นเอง จะใช้จุดเป็นตัวคั่นระหว่าง ชื่อคอนโทรลกับเมธอด ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติและเมธอดมีความใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากจะใช้ จุด . เป็นตัวแยกระหว่าง ชื่อคอนโทรลกับคุณสมบัติ หรือชื่อคอนโทรลกับเมธอด   จะมีความแตกต่างกัน ในแง่ของการควบคุมคอนโทรล หรืออ๊อบเจ็กต์ ซึ่งคุณจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อๆ ไป

ความสามารถพิเศษของ editor

     จากตัวอย่างข้างต้นจะพบว่า ขณะที่คุณพิมพ์โค้ดให้กับแต่ละโพรซีเดอร์ เมื่อคุณพิมพ์ . ตัว editor จะแสดง ToolTip ที่เป็นรายการคุณสมบัติ หรือรายการเมธอด ที่คอนโทรลนั้นสนับสนุนอยู่ขึ้นมาทันที มันช่วยให้คุณไม่ต้องไปจดจำว่า คอนโทรลนี้มีคุณสมบัติอะไรบ้าง มีเมธอดอะไร รวมถึงป้องกันไม่ให้คุณ พิมพ์ผิดอีกด้วย ดังรูป
vb2-22.gif (15238 bytes)
รูปที่ 2.22 แสดง ToolTip ของ editor ขณะเขียนโค้ด

และถ้าในการเขียนโค้ดที่ต้องมีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ ToolTip ก็จะแสดงรูปแบบไวยากรณ์อีกด้วย

vb2-23.jpg (21616 bytes)
รูปที่ 2.23 แสดงไวยากรณ์ประจำฟังก์ชันนั้นๆ

      ความสามารถทั้ง 2 อย่างช่วยให้โปรแกรมเมอร์ย่นระยะเวลาในการเขียนโค้ดเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ข้อผิดพลาดที่เกิดจาก การใช้งานผิดไวยากรณ์ หรือพิมพ์ผิด หมดไปได้อย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญคุณสามารถพัฒนาแอพพลิเคชันได้เต็มที่ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องที่คุณต้องท่องจำคุณสมบัติต่างๆ นานา รูปแบบการใช้งาน ที่มายมากเหลือเกิน ลำพังแค่ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมา ก็แทบเรียนรู้กันไม่หมดแล้ว :-(  ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า คุณสามารถแสดง ความสามารถได้สุดฝีมือ โดยที่ยังอยู่ในขอบเขตที่ VB จะทำได้ เพราะอย่างไร VB ก็ยังไม่สามารถเทียบเท่า Visual C++ อยู่ดี แต่คุณไม่ต้องห่วง ผู้เขียนเคยเห็นแอพพลิเคชันที่พัฒนาด้วย VB ที่มีการเขียนโค้ดแบบประยุกต์ โดยโปรแกรมเมอร์ต่างประเทศ ถ้าคุณทำได้ คุณก็สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแอพพลิเคชันที่พัฒนาด้วย Visual C++ หรือภาษาอื่นๆ เลย :-)

     สิ่งที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งของ editor ก็คือ มันสามารถตรวจสอบไวยากรณ์ (syntax) ตามโครงสร้างของภาษา VB ได้อีกด้วย ซึ่งเรียกว่า Auto Syntax Check ขณะที่คุณพิมพ์โค้ดเข้าไป เมื่อคุณกด Enter จบบรรทัด VB จะทำการตรวจสอบไวยากรณ์ทันที ถ้ามีข้อผิดพลาด ในการใช้งานไวยากรณ์เกิดขึ้น VB จะแสดงข้อความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดนั้นๆ ขึ้นมาทันที ทำให้คุณแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้อย่างถูกต้อง

vb2-24.jpg (16963 bytes)
รูปที่ 2.24 แสดงข้อความช่วยเหลือ เมื่อคุณพิมพ์ผิดไวยากรณ์

     จากรูป เมื่อคุณกดปุ่ม help VB จะแสดงข้อความที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทันที (ซึ่งผู้เขียนใช้บริการนี้บ่อยมาก)
สำหรับรูปแบบการแสดงโค้ด ที่คุณพิมพ์ลงไปในแต่ละโพรซีเดอร์ VB จะแยกส่วนของโค้ดออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยสีของฟอนต์ คือ

  • ตัวแปร,ชื่อคอนโทรล,เหตุการณ์จะมีสีดำ
  • คำสั่ง,ฟังก์ชัน จะมีสีน้ำเงิน
  • หมายเหตุ จะมีสีเขียว
note.gif (1525 bytes)เมื่อคุณดู source code คุณสามารถใช้กลุ่มสีของฟอนต์ ช่วยในการทำความเข้าใจโค้ดด้วยก็ได้

        สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ก็คือ ตัวแปรที่คุณประกาศใช้งานเป็นรูปแบบหนี่ง เวลาคุณพิมพ์อีกแบบหนี่ง VB จะเปลี่ยนให้คุณโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อคุณประกาศตัวแปร tName As String แต่เวลาที่คุณนำไปใช้ คุณพิมพ์ผิดเป็น tname VB จะทำการเปลี่ยนตัวแปรที่คุณพิมพ์ไม่เหมือนกับต้นแบบ ให้เหมือนกันโดยอัตโนมัติ และในกรณีที่คุณมีการใช้คำสั่ง (statement) (หรือคำสงวนประเภทที่ VB ให้คุณใช้ ซึ่ง คำสงวนนั้นจะมีผลในการทำงานของโค้ด ในโพรซีเดอร์ด้วย) VB จะเปลี่ยนอักษรตัวแรก ให้เป็นตัวใหญ่เสมอ เช่น เมื่อคุณพิมพ์ end เข้าไป VB จะเปลี่ยนเป็น End หรือเมื่อคุณพิมพ์  text1.text = "hello world" เข้าไป VB จะเปลี่ยนเป็น Text1.Text = "hello world" ให้คุณ

     ทั้งหมดที่ผู้เขียนกล่าวมา จะเห็นได้ว่าไมโครซอฟท์พยายามทำให้ editor มีบทบาทช่วยโปรแกรมเมอร์ ในการพัฒนาแอพพลิเคชันมากที่สุด ยังมีความสามารถอื่นๆ อีกของ editor ที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวไว้ เทคนิคที่คุณใช้ใน Word 97 บางอย่าง คุณสามารถนำมาใช้งานกับ editor ได้เช่นกัน ทดลองดูครับ

คุณสมบัติประจำตัวของคอนโทรล

     จากหัวข้อที่ผ่านมา ทำให้คุณทราบว่า คอนโทรลแต่ละชนิดล้วนแล้วแต่มีทั้งคุณสมบัติ และเมธอดทั้งสิ้น ยากแก่การจดจำ (และไม่ต้องจำ) แต่ในทุกๆ คอนโทรล จะมีคุณสมบัติอยู่ตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บค่า แสดงค่า หรืออ่านค่าของตัวมันเอง เช่น คอนโทรล TextBox มีหน้าที่สำหรับ รับหรือแสดงข้อมูล ที่ผู้ใช้สามารถแก้ใขได้ ทั้ง 2 กรณีตัวคอนโทรล TextBox จะเก็บข้อมูลไว้ที่คุณสมบัติ Text จึงถือได้ว่า คุณสมบัติ Text เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคอนโทรล TextBox, คอนโทรล CommandButton มีหน้าที่เป็นปุ่มกดรับคำสั่งของผู้ใช้ เช่น ปุ่ม OK , Cancel เป็นต้น คุณสมบัติที่จะแสดงชื่อปุ่มคือ คุณสมบัติ Caption, คอนโทรล Label มีหน้าที่แสดงข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบ โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะมีคุณสมบัติ Caption เป็นตัวเก็บค่า เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวมาคุณจะต้องเข้าไปใช้งานอย่างแน่นอน ตารางต่อไปนี้ เป็นคุณสมบัติประจำตัวของแต่ละคอนโทรล
คอนโทรลคุณสมบัติประจำตัว
CheckBoxValue
ComboBoxText
CommandButtonCaption
CommonDialogAction
DataCaption
DBCombo(Data-Bound ComboBox)Text
DBGrid(Data-Bound Grid)Text
DBList(Data-Bound ListBox)Text
DirListBoxPath
DriveListBoxDrive
FileListBoxFileName
FrameCaption
HScrollBarValue
ImagePicture
LabelCaption
LineVisible
ListBoxText
OptionButtonValue
PictureBoxPicture
ShapeShape
TextBoxText
TimerEnabled
VScrollBarValue

     ในการเขียนโค้ดกับคุณสมบัติประจำตัวของคอนโทรล คุณไม่จำเป็นต้องระบุคุณสมบัติก็ได้ โดยที่ไม่ผิดไวยากรณ์แต่อย่างใด สำหรับในการใช้งาน จริงๆ แล้ว โปรแกรมเมอร์ทั่วๆ ไปจะไม่นิยมใช้  เพราะว่า มันจะทำให้คุณสับสนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเฉพาะโค้ดของแอพพลิเคชันหนึ่ง จะประกอบไปด้วย จำนวนโพรซีเดอร์มากมาย ซึ่งในแต่ละโพรซีเดอร์ยังมีจำนวนบรรทัดของโค้ดอีก หลายสิบ หลายร้อยบรรทัด ทำให้ไม่นิยมใช้ เช่น

รูปแบบที่ 1 Text1.Text ="hello world"
รูปแบบที่ 2 Text1 = "hello world"

     รูปแบบที่ 1 เป็นการเขียนโค้ดแบบปกติ ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นการเขียนโค้ดกับคุณสมบัติประจำตัวคอนโทรล ดังนั้นจึงไม่ต้องระบุคุณสมบัติ Text  ก็ได้ ซึ่งไม่ผิดไวยากรณ์แต่อย่างใด ที่ผู้เขียนกล่าวถึง เนื่องจากว่า เป็นการแสดงความยืดหยุ่นที่ไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้คุณเท่านั้น

การเปิดโปรเจ็กต์ที่มีอยู่แล้ว

1.ให้คุณเลือกเมนู File/Open Project หรือคลิ๊กที่ปุ่ม vbopenproject.jpg (1252 bytes) ที่ทูลบาร์ แล้ว VB จะแสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Open Project ดังรูป
vb2-25.jpg (18347 bytes)
รูปที่ 2-25 แสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Open Project
2.แท็บ Existing หมายถึง คุณต้องการเปิดโปรเจ็กต์ที่มีอยู่ โดยที่ไม่สนใจว่าจะเป็นโปรเจ็กต์ที่คุณสร้างมาเมื่อใด ส่วนแท็บ Recent หมายถึง คุณต้องการเปิดโปรเจ็กต์ที่คุณพัฒนาครั้งหลังสุด ซึ่งจะแสดงไดรฟ์ และโฟลเดอร์ที่เก็บโปรเจ็กต์นั้นๆ อยู่

การเพิ่มโปรเจ็กต์ เข้ามาในสภาพแวดล้อม

1.ให้คุณเลือกเมนู Project/Add Project แล้ว VB จะแสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์  Add Project ดังรูป
vb2-26.jpg (26437 bytes)
รูปที่ 2-26 แสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Add Project
2.คุณสามารถเลือกชนิดของโปรเจ็กต์ที่คุณต้องการ ได้จากไดอะล๊อกบ๊อกซ์ดังกล่าว แท็บ Existing หมายถึง คุณต้องการเพิ่มโปรเจ็กต์เดิมที่มีอยู่แล้ว โดยที่ไม่สนใจว่า จะเป็นโปรเจ็กต์ที่คุณสร้างมาตอนไหน ส่วนแท็บ Recent หมายถึง คุณต้องการเพิ่มโปรเจ็กต์ที่คุณพัฒนาครั้งหลังสุด ซึ่งจะแสดงไดรฟ์ และโฟลเดอร์ที่จัดเก็บโปรเจ็กต์นั้นๆ อยู่

การถอดโปรเจ็กต์ออกจากสภาพแวดล้อม

     จะใช้สำหรับกรณีที่คุณมีการเพิ่มโปรเจ็กต์เข้ามา แล้วคุณต้องการถอดโปรเจ็กต์นั้นๆ ออกจากสภาพแวดล้อม คุณต้องทำดังนี้
1.ให้คุณเลือกโปรเจ็กต์ที่คุณต้องการถอด จากหน้าต่าง Project Explorer ดังรูป

vb2-27.jpg (10150 bytes)
รูปที่ 2-27 แสดงการเลือกโปรเจ็กต์ที่คุณต้องการถอดออกจากสภาพแวดล้อม
2.เลือกคำสั่ง File/Remove Project

การเพิ่ม Form หรือโมดูลอื่นๆ เข้ามาในสภาพแวดล้อม

1.ให้คุณเลือกเมนู Project จากนั้น ให้คุณเลือกชนิดของโมดูล ที่คุณต้องการเพิ่มเข้ามาในสภาพแวดล้อม และถ้าในกรณีที่คุณต้องการเพิ่ม Form เข้ามาในโปรเจ็กต์ คุณสามารถคลิ๊กที่ปุ่ม  vbaddform.gif (985 bytes)   บนทูลบาร์เลยก็ได้
vb2-28.jpg (21702 bytes)
รูปที่ 2-28 แสดงการเพิ่ม Form เข้ามาในโปรเจ็กต์
แท็บ Existing หมายถึง คุณต้องการเพิ่มฟอร์มเดิมที่มีอยู่แล้ว ในกรณีนี้เป็นการเพิ่มฟอร์มว่างๆ เข้ามาในสภสพแวดล้อม สำหรับไอคอนต่างๆ มีความหมายดังนี้
vb2-28-1.jpg (1299 bytes)
เป็นฟอร์มว่างๆ แบบปกติ
vb2-28-2.jpg (2252 bytes)เป็นการใช้ความสามารถของ VB Data Form Wizard เพื่อสร้างแบบฟอร์มรายงาน ที่ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่านคอนโทรล Data
vb2-28-3.jpg (1648 bytes)เป็นแบบฟอร์ม Abount สำเร็จรูป คุณอาจจะต้องปรับแต่งเพื่อให้ได้ฟอร์ม Abount ตามที่คุณต้องการ
vb2-28-4.jpg (1747 bytes)
เป็นฟอร์มที่มีลักษณะเหมือนกับ browser คล้ายๆ กับ Internet Explorer หรือ Netscapte Communicator
vb2-28-5.jpg (1325 bytes)
ไดอะล๊อกบ๊อกซ์สำเร็จรูป ถ้าคุณเบื่อกับไดอะล๊อกบ๊อกซ์แบบเก่าๆ นี่เป็นไดอะล๊อกบ๊อกซ์ที่คุณออกแบบเอง
vb2-28-6.jpg (1653 bytes)
ถ้าคุณสร้างแอพพลิเคชันที่ต้องการตรวจสอบ หรือจำกัดสิทธิการใช้งานผู้ใช้ ในแต่ละระดับ แบบฟอร์ม Log in สำเร็จรูปช่วยคุณได้ ซึ่งจะต้องมีการใส่ชื่อผู้ใช้ และ password ด้วย
vb2-28-7.jpg (1734 bytes)
เป็นจอภาพเริ่มต้นก่อนเข้าแอพพลิเคชัน ทุกๆ แอพพลิเคชันต้องมี
vb2-28-8.jpg (1759 bytes)
คุณคงเคยเห็นไดอะล๊อกบ๊อกซ์ที่แสดง Tip ตอนเข้าสู่แอพพลิเคชัน นี่เป็นไดอะล๊อกบ๊อกซ์ที่แสดง Tip สำเร็จรูป ซึ่งคุณต้องเพิ่มเทคนิคต่างๆ เข้าไปเอง
vb2-28-9.jpg (1631 bytes)
เป็นแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่านไดร์เวอร์ ODBC
vb2-28-10.jpg (1623 bytes)
เป็นแบบฟอร์มที่มีลักษณะเป็นตัวเลือกเพื่อกำหนดหัวข้อด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งคุณจะพบเห็นได้ในแอพพลิเคชันทั่วๆ ไป

2.ให้คุณสังเกตที่หน้าต่าง Project Explorer จะมีรายการแสดงเพิ่มขึ้นมา ซึ่งอยู่ภายใต้ Project เดียวกัน จากรูปจะเห็นว่า Project1 ประกอบด้วย Form 2 ฟอร์ม
vb2-29.jpg (8942 bytes)
รูปที่ 2-29 แสดง Form ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในโปรเจ็กต์

การเซฟโปรเจ็กต์

1.ให้คุณเลือกเมนู File/Save Project Group As... หรือคลิ๊กที่ปุ่ม vbsave.gif (881 bytes) บน Tool Bar แล้ว VB จะแสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์ เซฟโปรเจ็กต์ ดังรูป ซึ่ง VB จะแสดงรายการส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในโปรเจ็กต์นั้นๆ ให้คุณทราบด้วย
vb2-30.jpg (16194 bytes)
รูปที่ 2-30 แสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์เซฟโปรเจ็กต์
2.คลิ๊กปุ่ม vbok.gif (1004 bytes)
ในกรณีที่คุณเลือกคำสั่ง Save Form As... หมายถึง เป็นการเซฟเฉพาะฟอร์มที่คุณใช้งานอยู่เท่านั้น

การทดสอบ (run) โปรเจ็กต์

1.ให้คุณเลือกเมนู Run/Start หรือกดปุ่ม F5 ที่คีย์บอร์ด หรือกดปุ่ม vbrun.jpg (577 bytes) ที่ทูลบาร์
2.ที่ฟอร์มจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ ไม่มีเส้นกริด   และจะปรากฎหน้าต่าง Immediate ด้านล่างของสภาพแวดล้อม
3.ถ้าคุณมีการสั่งให้พิมพ์โดยผ่านทางคำสั่ง Debug.Print ที่หน้าต่าง Immediate จะแสดงผลจากการประมวลผลด้วย
4.คุณจะสังเกตเห็นว่าที่บนทูลบาร์ จะมีปุ่ม  vbpause.jpg (819 bytes)  และ vbstop.gif (889 bytes)  มีสถานะ Active อยู่ โดยมีความหมายดังนี้

  • ปุ่ม vbstop.gif (889 bytes) หมายถึง ให้หยุดการรันโปรเจ็กต์
  • ปุ่ม vbpause.jpg (819 bytes) หมายถึง ให้หยุดรันโปรเจ็กต์ชั่วคราวเพื่อ แก้ไขโค้ด
อ้างอิงโดย:http://kampol.htc.ac.th/web1/subject/programming2/sheet/vb6/vbch02.html