วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มาลองทำโครงการง่ายๆเองดีกว่า
                บทความฉบับนี้ ศณีรา ขอนำแนวทางจัดทำโครงการง่ายๆที่ผู้อ่านได้ร้องขอมา เนื่องจากเป็นอุปสรรคเหลือเกิน สำหรับองค์กรภาคเอกชนและนักการเมืองท้องถิ่นในการของบประมาณหรือขออนุมัติโครงการฯต่อหน่วยงานทางราชการ มันเหมือนเส้นผมบังภูเขาทำให้การพัฒนาภาคประชาชนดูจะอ่อนแรงไป ซึ่งศณีราจึงนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ประดับภูมิไว้ดังนี้
                                                         แผนงาน/โครงการ……..

1.ชื่อแผนงาน/โครงการ…(สะท้อนให้ปัญหาหรือความต้องการ)…………………...
   - สถานที่ดำเนินการ…… หมู่ที่ ……..บ้าน…….  ตำบล……… อำเภอ…….. จังหวัด…..…….
   - หน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบ………………
   - ภายใต้ยุทธศาสตร์.................(ของ จังหวัด............อำเภอ............ อปท..............)
2. หลักการและเหตุผล
    2.1 ความเป็นมา/สภาพปัญหา/ความต้องการ
    2.2 ความเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข (มากแค่ไหน,ถ้าไม่แก้จะเกิดปัญหาอะไรขึ้น)
    2.3 สาเหตุของปัญหา (เพื่อไปกำหนดเป้าหมาย)
3.  วัตถุประสงค์โครงการ
         สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น ( ต้องรับกับปัญหา/ความต้องการ (เป็นนามธรรม โดยใช้คำว่าเพื่อ
         นำหน้า + กิริยา  (พัฒนา/ส่งเสริม/เสริมสร้าง)สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น+กลุ่มเป้าหมาย))
4.     เป้าหมายโครงการ
        วัดได้,เป็นรูปธรรม,บอกเป็นจำนวนตัวเลข (สอดรับกับสาเหตุของปัญหา)
         ( - ) สาเหตุของปัญหา                               เป้าหมาย (+ )
         เช่น เพื่อจัดหาเงินทุน ให้กับเกษตรกร จำนวน 100 ทุน ภายใน 3 ปี
         วิธีเขียน (รูปธรรม)เป็นจริงได้ เฉพาะเจาะจง
         เพื่อ + คำกิริยา +สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น(จำนวนปริมาณ)+กลุ่มเป้าหมาย+ระยะเวลางบประมารที่ใช้
5. วิธีดำเนินการ
     5.1 ขั้นเตรียมการ (ก่อนลงมือทำ)
     5.2 ขั้นดำเนินการ
     5.3 ขั้นประเมินผล
6.  ระยะเวลา
     วัน/เดือน/ปี –วันเดือนปี เป็นเวลา……..วัน หรืออาจแสดงเป็นปฏิทิน
7. ทรัพยากรที่ใช้
    7.1 งบประมาณ  โดยบอกแหล่งที่มาของงบประมาณ โดยมีรายละเอียดแนบท้ายโครงการ
    7.2 วัสดุอุปกรณ์ มีรายละเอียดแนบท้ายโครงการฯ
    7.3 อัตรากำลัง


8. สถานที่ดำเนินการ
        เลขที่………หมู่ที่………….ตำบล………….อำเภอ………….จังหวัด……………
        อาจมีแผนที่แสดง แนบท้ายโครงการ
9. ผู้รับผิดชอบ
                    นาย ก.     ประธานชมรม………..
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลข้างเคียง
    10.1 ทางบวก(ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ)
    10.2 ทางลบ (เขียนในกรณีเป็นโครงการที่มีผลกระทบในวงกว้าง)
11. การควบคุม/ติดตาม/ประเมินผล(ตัวชี้วัด)
      ตัวชี้วัดควรสอดคล้องกับเป้าหมาย/บอกวิธีการติดตามประเมินผล
12.  ผู้เสนอโครงการ /แผน (ประธานองค์กร/เจ้าของโครงการฯ)
13. ผู้ตรวจสอบโครงการ (เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านแผนฯ/งบประมาณในอปท./หน่วยงานของรัฐ)
14. ผู้เห็นชอบโครงการ/แผน (ปลัด อปท. กรณี ของบฯ อปท./นายอำเภอกรณีของบฯของจังหวัด)
15. ผู้อนุมัติโครงการ/แผน (เจ้าของงบประมาณฯเช่นนายก อปท./นายอำเภอฯ / ผู้ว่าฯ)

หมายเหตุ อาจเปลี่ยนได้ตามความต้องการของเจ้าของงบประมาณ เช่น อาจให้ระบุว่าสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ หรือนโยบาย ของรัฐ ,จังหวัด หรือหน่วยงานในด้านใด
             ทั้งนี้การจัดทำงบประมาณนั้นในทางปฎิบัติ อาจจะสลับข้อกันไปมา อันนี้อันนั้นขึ้นก่อนหน้าหลัง แต่ก็ไม่พ้นแนวทางนี้ทั้งนั้น ลองเขียนกันดู แล้วลองของบประมาณหน่วยงานที่ท่านรุ้ว่ามีอำนาจหน้าที่และมีงบประมาณเพื่อการนั้น แล้วอย่าลืมที่สำคัญ คือที่มาของโครงการฯ เพราะไม่ว่าจะเป้นดครงการไหนๆก็แล้วแต่ จะต้องมีองค์กรรองรับ เช่น ชมรม/กลุ่มเยาวชน.....,ชมรม/กลุ่มสตรี...........,ชมรม/กลุ่มเกษตรกรผลิต............เป็นต้น แล้วแนบรายชื่อ บันทึกการประชุม ระเบียบการจัดการกลุ่มไปด้วยยิ่งดี จะได้แสดงให้เขาเห็นว่า โครงการฯที่จัดทำไม่ได้ทำโดยคนๆเดียว สนองปัญหาส่วนตัว และเมื่อได้การส่งโครงการไปแล้วนั้น ก็อย่างหวังว่าส่งปุ๊บจะได้ปั๊บ ต้องรอเขาจะอนุมัติเข้าแผนพัฒนาฯหรือข้อบัญญัติงบประมาณฯ ก่อน ยกเว้นเขามีงบประมาณเพื่อการนั้นหรือมียุทธศาสตร์ตรงกันแล้ว จึงจะได้รับการอนุมัติโครงการฯหรืองบประมาณฯ และถ้าจะให้แน่นอน ก็ส่งโครงการฯผ่านการประชุมประชาคม ในระหว่างที่องค์กรหรือหน่วยงานนั้นเริ่มจัดทำแผนพัฒนาฯรับรองหากโครงการฯที่ส่งไปนั้น ตอบสนองยุทธศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาส่วนรวม ตอบสนองความต้องการส่วนรวมและไม่ขัดต่อกฎระเบียบ กฎหมายทางราชการ หน่วยงานมีงบประมาณเพียงพอหรือผู้บริหารหน่วยงานนั้นใจแคบ... รับรองโครงการฯได้รับการอนุมัติงบประมาณแน่นอน...ซิบอกให้
 ชั่วโมงท้องถิ่น  ฉบับ 9 (16-31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น